ข้อ 30 สมาชิก
สมาชิกสหกรณ์มีสองประเภท คือ สมาชิก และสมาชิกสมทบ
- สมาชิก ได้แก่ ผู้ลงชื่อขอจดทะเบียนสหกรณ์และผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชี รายชื่อ
ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์และผู้ได้รับเลือกเข้าเป็นสมาชิกตามข้อบังคับ - สมาชิกสมทบ ได้แก่ บุคคลธรรมดาที่ประสงค์จะใช้บริการต่าง ๆ
ของสหกรณ์เป็นการประจำและสหกรณ์พิจารณารับบุคคลดังกล่าวเป็นสมาชิกสมทบตามที่เห็นสมควร
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 31 คุณสมบัติของสมาชิก
สมาชิกต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- เป็นผู้เห็นชอบในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
- เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
- เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำสังกัดกรมที่ดิน หรือเป็นเจ้าหน้าที่ประจำของสหกรณ์นี้
- เป็นผู้มีความประพฤติและนิสัยดีงาม
- มิได้เป็นสมาชิกในสหกรณ์ออมทรัพย์อื่น ที่มีวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงิน เว้นแต่ผู้ที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควร
ข้อ 32 การเข้าเป็นสมาชิกและสมาชิกสมทบ
- การเข้าเป็นสมาชิก ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกตามข้อบังคับ รวมทั้งสมาชิก สหกรณ์ออมทรัพย์อื่นซึ่งประสงค์จะขอเข้าเป็นสมาชิกตามข้อ 36 ต้องยื่นใบสมัครถึงสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้ โดยต้องมีผู้บังคับบัญชาของผู้สมัครรับรอง แต่ถ้าผู้สมัครเป็นผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ ชำนาญการ/ชำนาญงานขึ้นไป ก็ไม่ต้องมีผู้รับรอง
เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณา ปรากฏว่าผู้สมัครมี คุณสมบัติถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในข้อ 31 (1) ทั้งเห็นเป็นการสมควรแล้ว ก็ให้รับเข้าเป็นสมาชิกได้ แล้วเสนอเรื่องการรับสมาชิกเข้าใหม่ให้ที่ประชุมใหญ่คราวถัดไปทราบ
ถ้าคณะกรรมการดำเนินการไม่ยอมรับผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกด้วยเหตุใด ๆ เมื่อผู้สมัครร้องขอก็ให้คณะกรรมการดำเนินการนำเรื่องเสนอที่ประชุมใหญ่เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด มติแห่ง ที่ประชุมใหญ่ให้รับเข้าเป็นสมาชิกในกรณีดังว่านี้ ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวน สมาชิกที่มาประชุม
- การเข้าเป็นสมาชิกสมทบ ผู้สมัครเป็นสมาชิกสมทบต้องยื่นใบสมัคร ถึงสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้ โดยต้องมีผู้บังคับบัญชาของผู้สมัครที่เป็นข้าราชการรับรอง
เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้พิจารณาเห็นว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติถูกต้องตรงตามที่กำหนดไว้ในข้อ 31 (2) ก็ให้รับเข้าเป็นสมาชิกสมทบได้แล้วเสนอให้ที่ประชุมใหญ่ทราบ
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 33 ค่าธรรมเนียมแรกเข้า
ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือสมาชิกสมทบ จะต้องชำระ ค่าธรรมเนียมแรกเข้าให้แก่สหกรณ์ คนละ 50 บาท
ค่าธรรมเนียมแรกเข้านี้ให้ถือเป็นรายได้ของสหกรณ์ จะเรียกคืนไม่ได้
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 34 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกและสมาชิกสมทบ
ผู้เข้าเป็นสมาชิกและสมาชิกสมทบต้องลงลายมือชื่อของตนในทะเบียนสมาชิก หรือสมาชิกสมทบกับชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าหุ้นตามจำนวนที่ถือให้ครบถ้วน เมื่อได้ปฏิบัติดังนี้แล้ว จึงจะถือว่าได้สิทธิในฐานะสมาชิกหรือสมาชิกสมทบ
สิทธิของสมาชิก มีดังนี้
- เข้าร่วมประชุมใหญ่ เพื่อเสนอความคิดเห็นหรือออกเสียงคะแนน
- เข้าชื่อเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ
- เสนอหรือได้รับเลือกเป็นกรรมการดำเนินการสหกรณ์ หรือผู้ตรวจสอบ กิจการสหกรณ์
- ได้รับบริการทางธุรกิจและทางวิชาการจากสหกรณ์
- สิทธิอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์
หน้าทิของสมาชิก มีดังนี้
- ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติของสหกรณ์
- ส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง
- สอดส่องดูแลกิจการของสหกรณ์
- ร่วมมือกับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์พัฒนาสหกรณ์ให้เจริญรุ่งเรือง
สำหรับสมาชิกสมทบมีสิทธิและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- ไม่มีสิทธิเป็นกรรมการสหกรณ์
- เข้าร่วมประชุมใหญ่ เพื่อเสนอความคิดเห็นแต่มิให้นับชื่อเข้าเป็น องค์ประชุมและไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
- ข้อกำหนดวิธีการให้บริการและอื่น ๆ ตลอดจนสวัสดิการและผลตอบแทนจากการใช้บริการให้เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์ว่าด้วยสมาชิกสมทบ
- ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติและคำสั่งของสหกรณ์
- ส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง
- สอดส่องดูแลกิจการของสหกรณ์
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 35 สมาชิกย้ายสังกัด
สมาชิกที่ย้ายหรือโอนไปรับราชการในสังกัดอื่นและประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์ซึ่งตั้งขึ้นในสังกัดนั้นหากสหกรณ์นั้นมีข้อบังคับให้รับเข้าเป็นสมาชิกได้และคณะกรรมการดำเนินการได้มีมติให้รับเข้าเป็นสมาชิกแล้วถ้าสมาชิกนั้นมีความประสงค์จะให้โอนเงินค่าหุ้นและเงินกู้ที่ตนมีอยู่ในสหกรณ์นี้ไปยังสหกรณ์ที่ตนได้ไปเข้าเป็นสมาชิกใหม่สหกรณ์ก็จะจัดการโอนเงินค่าหุ้นเงินกู้และเงินฝาก(ถ้ามี)ที่สมาชิกนั้นมีอยู่ต่อสหกรณ์ให้ตามวิธีการที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 36 การรับโอนสมาชิกสหกรณ์อื่น
สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์อื่นซึ่งย้ายหรือโอนมารับราชการในสังกัดตามข้อ 31 (1) (ค) หากประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิก ก็ให้ยื่นใบสมัครถึงสหกรณ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 32 และจะได้สิทธิในฐานะสมาชิกตามข้อ 34 ตั้งแต่วันที่ได้ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิกกับได้ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าและสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่เดิมได้โอนเงินค่าหุ้นให้สหกรณ์
นี้แล้ว
การรับโอนเงินค่าหุ้นและการปฏิบัติเกี่ยวกับหนี้สินที่มีอยู่ในสหกรณ์เดิมนั้น
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบของสหกรณ์
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 37 การเปลี่ยนแปลงชื่อ สัญชาติและที่อยู่ของสมาชิกและสมาชิกสมทบ
สมาชิกคนใดมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องชื่อ สัญชาติและที่อยู่ ต้องแจ้งให้สหกรณ์ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
สมาชิกสมทบคนใดมีการเปลี่ยนแปลงชื่อและที่อยู่ ต้องแจ้งให้สหกรณ์ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 38 การตั้งผู้รับโอนประโยชน์ของสมาชิกและสมาชิกสมทบ
สมาชิกหรือสมาชิกสมทบจะทำเป็นหนังสือตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคน เพื่อให้เป็นผู้รับโอนประโยชน์ซึ่งตนมีอยู่ในสหกรณ์
ในเมื่อตนตายนั้นมอบให้สหกรณ์ถือไว้ก็ได้ หนังสือตั้งผู้รับโอนประโยชน์ดังว่านี้ต้องทำตามลักษณะ
พินัยกรรม
ถ้าสมาชิกหรือสมาชิกสมทบประสงค์จะเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงการตั้งผู้รับ
โอนประโยชน์ที่ได้ทำไว้แล้วก็ต้องทำเป็นหนังสือตามลักษณะดังกล่าวในวรรคก่อนมอบให้สหกรณ์ถือไว้
เมื่อสมาชิกหรือสมาชิกสมทบตาย สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินปันผล
เงินเฉลี่ยคืนและเงินผลประโยชน์หรือเงินอื่นใดบรรดาที่สมาชิกนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้แก่ผู้รับโอนประโยชน์ที่ได้ตั้งไว้ หรือถ้ามิได้ตั้งไว้ก็คืนให้แก่บุคคลที่ได้นำหลักฐานมาแสดงให้เป็นที่พอใจ
คณะกรรมการดำเนินการว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวนั้น ทั้งนี้ ตามข้อกำหนด
ในข้อ 44 วรรคแรก และข้อ 45
กรณีสมาชิกสมทบตายให้ผู้รับโอนประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้น ยื่นคำขอรับเงิน
ผลประโยชน์ต่อสหกรณ์ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่สมาชิกสมทบตาย โดยให้แนบสำเนามรณบัตรที่ทางราชการออกให้แสดงว่าสมาชิกสมทบนั้น ๆ ได้ถึงแก่ความตายประกอบการพิจารณาด้วย ในกรณี
ผู้มีสิทธิรับเงินผลประโยชน์ไม่ยื่นคำขอรับเงินผลประโยชน์หรือผู้มีชื่อเป็นผู้รับโอนประโยชน์ที่สมาชิก
สมทบได้จัดทำให้สหกรณ์ถือไว้ไม่มีตัวตนอยู่ก็ดี เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องร้องคดี ให้สหกรณ์
โอนเงินดังกล่าวไปสมทบเป็นทุนสำรองของสหกรณ์ทั้งสิ้น
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 39 การขาดจากสมาชิกภาพ
สมาชิกย่อมขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุใด ๆ ดังต่อไปนี้
- ตาย
- ลาออกจากสหกรณ์
- วิกลจริต
- ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย
- ถูกออกจากราชการ หรืองานประจำตามข้อ 31 (3) โดยมีความผิด
- ถูกให้ออกจากสหกรณ์
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 40 การลาออกจากสหกรณ์
สมาชิกผู้ไม่มีหนี้สินอยู่ต่อสหกรณ์ในฐานะผู้กู้หรือผู้ค้ำประกันอาจลาออกจากสหกรณ์ได้โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการดำเนินการ และเมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณาเห็นว่าเป็นการชอบด้วยข้อบังคับและอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากสหกรณ์ได้
คณะกรรมการดำเนินการอาจมอบหมายให้ประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการสอบสวนพิจารณา หากเห็นว่าเป็นการชอบด้วยข้อบังคับ ก็ให้ถือว่าออกจากสหกรณ์ตามความในวรรคก่อนได้แล้วให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการในการประชุมคราวถัดไปทราบด้วย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 41 การให้ออกจากสหกรณ์
สมาชิกอาจถูกให้ออกจากสหกรณ์เพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
- ไม่ลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก หรือไม่ชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือไม่ถือหุ้นครั้งแรกตามข้อ 34
- ขาดส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนถึงสามงวดติดต่อกัน หรือขาดส่งรวมถึงหกงวด ทั้งนี้โดยมิได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการดำเนินการ
- นำเงินกู้ไปใช้ผิดความมุ่งหมายที่ให้เงินกู้นั้น
- ไม่จัดการแก้ไขหลักประกัน สำหรับเงินกู้ ที่เกิดบกพร่องให้คืนดีภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด
- ค้างส่งเงินงวดชำระหนี้ ไม่ว่าต้นเงิน หรือดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเวลาถึง สองเดือนหรือผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ดังว่านั้นถึงสามคราวสำหรับเงินกู้รายหนึ่ง ๆ
- ไม่ให้ข้อความจริงเกี่ยวกับหนี้สินของตนแก่สหกรณ์เมื่อสมัครเข้าเป็น สมาชิก หรือเมื่อจะก่อความผูกพันในหนี้สินต่อสหกรณ์ในฐานะผู้กู้ หรือผู้ค้ำประกัน หรือเมื่อมีความผูกพันในหนี้สินต่อสหกรณ์อยู่แล้ว
- จงใจฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบ หรือมติของสหกรณ์ หรือประพฤติการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เห็นว่าไม่ซื่อสัตย์สุจริต หรือแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อสหกรณ์ไม่ว่าโดยประการใด ๆ
เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้สอบสวนพิจารณา ปรากฏว่าสมาชิกมีเหตุใด ๆ ดังกล่าวข้างต้นนี้และได้ลงมติให้สมาชิกออก โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจำนวนกรรมการดำเนินการที่อยู่ในที่ประชุมแล้ว ก็เป็นอันถือว่าสมาชิกนั้นถูกให้ออกจากสหกรณ์
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 42 การจำหน่ายชื่อสมาชิกออกจากทะเบียน
ในกรณีที่สมาชิกออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเพราะเหตุใดๆให้คณะกรรมการดำเนินการจำหน่ายชื่อสมาชิกออกจากทะเบียนแล้วเสนอเรื่องสมาชิกออกให้ที่ประชุมใหญ่สามัญคราวถัดไปทราบ
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 43 สมาชิกที่โอนหรือย้ายหรือออกจากราชการหรืองานประจำโดยไม่มีความผิด
สมาชิกที่โอนหรือย้ายหรือออกจากราชการหรืองานประจำข้อ31(3)โดยไม่มีความผิดเว้นแต่ออกเพราะตายหรือวิกลจริตหรือต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายถ้ามิได้ลาออกจากสหกรณ์ด้วยก็ให้ถือว่าคงเป็นสมาชิกอยู่โดยมิต้องส่งเงินค่าหุ้นรายเดือนต่อไปอีกก็ได้สมาชิกเช่นว่านั้นอาจได้รับเงินกู้จากสหกรณ์ได้ตามระเบียบว่าด้วยเงินกู้ของสหกรณ์ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 44 การจ่ายคืนจำนวนเงินของสมาชิกที่ขาดจากสมาชิกภาพ
ในกรณีที่สมาชิกขาดจากสมาชิกภาพเพราะเหตุตามข้อ 39 (1), (2), (3) นั้น สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนค้างจ่ายบรรดาที่สมาชิกนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ โดยเฉพาะค่าหุ้นนั้นผู้มีสิทธิได้รับจะเรียกให้สหกรณ์จ่ายคืนทันทีโดยไม่มีเงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้น หรือจะเรียกให้จ่ายคืนหลังจากวันสิ้นปีที่ออกโดยได้รับเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีที่ออกนั้นด้วย ในเมื่อที่ประชุมใหญ่ได้มีมติให้จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีนั้นแล้วก็ได้ สุดแต่จะเลือก ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์ ส่วนเงินฝากและดอกเบี้ยนั้น สหกรณ์จะจ่ายคืนให้ตามข้อกำหนดว่าด้วยการรับฝากเงินในข้อบังคับนี้ และในระเบียบสหกรณ์
ถ้าในปีใด จำนวนค่าหุ้นที่ถอนคืน เนื่องจากสมาชิกขาดสมาชิกภาพจะเกินร้อยละสิบแห่งทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์ตามที่มีอยู่ในวันต้นปีนั้น คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจให้รอการจ่ายคืนค่าหุ้นของสมาชิกที่ขาดจากสมาชิกภาพรายต่อไปในปีนั้นไว้จนถึงปีทางบัญชีใหม่ แต่เฉพาะสมาชิกที่ขาดจากสมาชิกภาพ เนื่องจากตนได้โอน หรือย้าย หรือออกจากราชการหรืองานประจำตามข้อ 31 (3) โดยไม่มีความผิดนั้นคณะกรรมการดำเนินการอาจผ่อนผันเป็นพิเศษ
ในกรณีที่สมาชิกขาดสมาชิกภาพเพราะเหตุตามข้อ 39 (4) สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้นเงินรับฝาก เงินปันผล และเงินเฉลี่ยคืน กับดอกเบี้ยค้างจ่าย บรรดาที่สมาชิกนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้ตามกฎหมายล้มละลาย
ในกรณีที่สมาชิกขาดสมาชิกภาพเพราะเหตุตามข้อ 39 (5), (6) นั้น สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืน กับดอกเบี้ยค้างจ่าย บรรดาที่สมาชิกนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้ภายในเวลาอันสมควร โดยไม่มีเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนตั้งแต่ประจำปีที่ออกจากสหกรณ์ หรือหากสมาชิกขอให้จ่ายค่าหุ้นภายหลังวันสิ้นปี โดยขอรับเงินปันผลในปีนั้น ภายหลังที่ประชุมใหญ่ได้พิจารณาจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีก็ได้ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์ ส่วนเงินรับฝากและดอกเบี้ยนั้น สหกรณ์จะจ่ายให้ตามข้อกำหนดว่าด้วยการรับฝากเงินในข้อบังคับนี้ และในระเบียบของสหกรณ์
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 45 การหักจำนวนเงินซึ่งสมาชิกและสมาชิกสมทบต้องรับผิดต่อสหกรณ์
ในการจ่ายคืนจำนวนเงินดังกล่าวในข้อ 44 นั้น สหกรณ์มีอำนาจหักจำนวนเงินซึ่งสมาชิกหรือสมาชิกสมทบ
ต้องรับผิดต่อสหกรณ์ออกก่อน
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553
ข้อ 46 ความรับผิดของสมาชิกและสมาชิกสมทบ
สมาชิกต้องรับผิดเพื่อหนี้สินของสหกรณ์จำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553